
บทที่ 3
เครื่องมือสำหรับงานเดินสายไฟฟ้า
เครื่องมือวัดไฟฟ้า
เครื่องมือวัดไฟฟ้ามีหลายประเภท ที่มีใช้และเห็นกันบ่อย ๆ เช่น แอมป์มิเตอร์ โวลท์มิเตอร์และ มัลติมิเตอร์ ฯลฯ
แต่เครื่องมือวัดที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่ มัลติมิเตอร์ เนื่องจากใช้ง่าย ราคาถูก และ สามารถใช้ได้เอนกประสงค์
สามารถใช้วัดได้ทั้ง กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า นับเป็นเครื่องมือวัดขั้นพื้นฐานที่ช่างไฟฟ้า
จะต้องมีไว้ใช้งาน และจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งาน

เครื่องมือวัดไฟฟ้า
วัสดุ-อุปกรณ์ในงานไฟฟ้า
อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการเดินสายไฟ ที่สำคัญและจำเป็นมีอยู่มากมายหลายอย่างพอแยกได้คือ
1.สายไฟฟ้า สายไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสายไฟเป็นตัวนำที่จะนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปตามสาย
จากแห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งได้ตามต้องการ สายไฟฟ้าที่นิยมใช้งานทั่วๆไปมีหลายขนาดที่ควรทราบ มีดังนี้
1.1 สายเปลือย เป็นสายที่ไม่หุ้มฉนวน ใช้สำหรับกระแสไฟฟ้ามากๆ เช่น ใช้กับพวกสายไฟฟ้าแรงสูง ส่วนมากเป็น
พวกทองแดง หรืออลูมิเนียมใช้เดินในระบบสูง เพราะอันตรายจากสายไฟแรงสูงมีมาก
1.2 สายหุ้มฉนวน
ก. สายหุ้มยาง ทำด้วยลวดทองแดง จะเป็นเส้นเดี่ยวหรือหลายเส้นขึ้นอยู่กับชนิดของงานที่นำมาใช้ภายนอก
หุ้มฉนวนด้วยดีบุก หรือยาง แบบนี้นิยมใช้กันมาก
ข. สายหุ้มพลาสติก ส่วนมากมักทำเป็นสายหลายๆเส้น ที่หุ้มด้วยพลาสติกเพื่อให้อ่อนตัวได้ง่าย ผู้ผลิตมักทำ
เป็นสายคู่ติดกัน
ค. สายไหม ภายในทำเป็นลวดทองแดงหลายเส้นหุ้มด้วยยางแล้วหุ้มทับด้วยไหมอีกทีหนึ่งมักทำเป็นเส้นคู่ ู่บิดแบบเกลียว เหมาะสำหรับติดเต้าเพดานกับกระจุ๊บหลอด
ง. สายเดี่ยวและสายคู่ P.V.C. (Poly Vinyl Chloride) เป็นสายไฟทำด้วยลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวน
หลายชั้น ภายนอกสุดมักเป็นฉนวนสีขาว สายไฟชนิดมีฉนวนหุ้มแข็งแรงมาก มีทั้งชนิดคู่และชนิดเดียวนิยมใช้กันแพร่ หลาย
1.3 สายอบหรืออาบน้ำยา ส่วนมากเป็นลวดทองแดงเส้นเล็ก ๆใช้น้ำยาเคมีเคลือบเป็นฉนวนตลอดสายใช้ในงานพัน มอเตอร์ ฯลฯ
สายไฟที่นิยมใช้ทั่ว ๆ ไปคือสายไฟที่ทำจากลวดทองแดง มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 98 ส่วนใน 100 และหุ้มด้วย
ฉนวนไว้สำหรับรับแรงดันไม่ต่ำกว่า 250 โวลท์ สายไฟที่ใช้มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศา C และต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า
ขนาดตามตารางน

2. เข็มขัดรัดสาย
เข็มขัดรัดสายขนาดต่างๆ
ในปัจจุบันนี้การเดินสายไฟตามอาคารต่างๆจะเป็นตึกหรือไม้ก็ดี นิยมใช้เข็มขัดรัดสาย เดินเป็นส่วนมากเพราะเรียบ
สนิทเป็นระเบียบสวยงามดี เข็มขัดรัดสายทำด้วยอลูมิเนียม ตรงกลางมีรู อาจจะมี 1 –2 รู แล้วแต่ขนาดเข็มขัดรัดสายมี
ขนาดเป็นเบอร์ต่างๆ ตั้งแต่ เบอร์ 0( เล็กที่สุด) ถึงเบอร์ 6 เบอร์ 0 หรือขนาดเล็กใช้กับสายไฟขนาดเล็กเส้นเดี่ยวส่วนขนาด
ใหญ่ใช้กับสายไฟขนาดใหญ่หรอสายไฟขนาดเล็กหลายเส้นรวมกัน ตรงกลางมีรูใช้ตะปูตอกยึดกับผนังให้แน่น
วิธีใช้เข็มขัดรัดสาย
1. ใช้ดินสอทำเครื่องหมายไว้ให้มีระยะห่างกันประมาณ 10 ซ.ม
2. ใช้ตะปูเหล็กตอกยึดตรงกลางของเข็มขัดรัดสายกับผนังไว้ การตอกให้ได้แนวเดี่ยวกันจนตลอด
3. ดึงสายไฟให้ตรงเสียก่อนจึงวางบนเข็มขัดรัดสายแล้วรัดให้แน่น
4. สายไฟคู่พยายามอย่าให้ทับกัน
5. สายที่ไม่มีฉนวนหุ้มห้ามใช้เข็มขัดรัดสายโดยเด็ดขาด
3. ตลับแยกสาย
ตลับแยกสายมีลักษณะกลมมีฝาเกลียวบิด มีรูเจาะออกรอบๆ 4 รูสำหรับเดินสายไฟออกตลับแยกสายมีไว้สำหรับต่อ
สายไฟ ภายในตลับเพื่อให้มองดูสวยงามเรียบร้อย ตามปกติสายไฟฟ้าที่เดินภายในอาคารบ้านเรือนย่อมจะต้องต่อแยกไปใช้
หลายจุดเช่น ต่อปลั๊ก ,สวิทช์ ,ดวงไฟ ฯลฯ จึงต้องมีตลับแยกสายไว้ต่อเพื่อต้องการความเรียบร้อยดังกล่าว ดังรูป แต่ในปัจจุ
บันตลับแยกสายไม่เป็นที่นิยมใช้ในการต่อจุดแยกสายไฟอีก เนื่องจากนิยมเชื่อมต่อวงจรภายใต้แผงปลั๊กหรือสวิทช์ที่อยู่ตาม
ผนังมากกว่า
ตลับแยกสาย
4. ตุ้ม (ลูกถ้วย)
ตุ้มหรือลูกถ้วย ใช้กันมากในการเดินสายนอกอาคาร หรือในโรงฝึกงาน ตุ้มใช้ในการยืดสายให้แน่นแข็งแรง ตาม
บ้านมีใช้ภายนอกคือยึดสายไฟจากบ้านไปยังเสาไฟฟ้าภายนอก ตุ้มมีหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่แล้วแต่ขนาดของสายไฟ
การยึดตุ้มให้ติดกับไม้ ใช้ตะปูเกลียวไขยึดติดแน่น ถ้าอาคารเป็นตึกหรือคอนกรีตใช้ตะปูเกลียวยึดติดกับผนังไม้ได้ต้องใช้ ้เหล็กสกัดปูนออกก่อนแล้วใช้ไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งเหลาให้กลมโตกว่าตะปูเกลียวฝังไว้ให้แน่นแล้วจึงใช้ตะปูเกลียวยึดกับไม้
ที่ฝังนี้ เราเรียกว่า “ ฝังพุก ”
รูปตุ้ม (ลูกถ้วย)
5.พุกประกับ
พุกประกับ
พุกประกับทำด้วยกระเบื้องเคลือบ เป็นฉนวนไฟฟ้า พุกประกับมีเป็นชุด ๆ หนึ่งมี 2 อัน อันล่างเป็นร่องสำหรับเดิน
สายไฟฟ้า ทั้ง 2 ตัวมีรูอยู่ตรงกลางสำหรับใช้ตะปูเกลียวยึดติดกับผนัง พุกประกับใช้ยึดสายเมนคู่ที่เดินภายในอาคาร ส่วนมากเป็นสายเดี่ยวมีฉนวนหุ้ม ปัจจุบันนี้ไม่นิยมใช้พุกประกับกันแล้ว เพราะนิยมใช้สายไฟคู่ P.V.C.ซึ่งดูเรียบร้อยสวย
งามและปลอดภัยกว่าไม้รางมีเป็นชุด 2 อัน คือ อันล่างเป็นไม้มีร่อง 2 ร่อง สำหรับสายไฟเดินตามรางอันบนเป็นไม้บางปิด
ทับไม้ไม่ให้มองเห็นสายไฟ เพื่อให้ดูเรียบร้อยสวยงาม แล้วป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีใช้กันเพราะนิยม
ใช้สายไฟคู่ P.V.C. ซึ่งไม่ต้องใช้ไม้รางการติดไม้รางใช้ตะปูตอกยึดให้แน่น เวลาจะเลี้ยวหรือหักมุม ก็ตัดไม้รางด้านละ
45 องศา สองด้านก็จะได้มุมฉาก 95 องศา พอดี
6.ไม้แป้น
ไม้แป้นทำด้วยไม้รูปร่างลักษณะกลม หรือสี่เหลี่ยมตามรูปร่างอุปกรณ์นั้น ๆ ใช้เป็นที่รองอุปกรณ์บางอย่างเช่น
สวิทช์ ปลั๊ก (ตัวเมีย) เต้าเพดาน ฯลฯ เวลาเดินสายต้องเจาะแป้นไม้ เพื่อเดินสายไฟข้างในเสียก่อน แล้วโผล่สายออกมาสำ
หรับเดินสายไฟต่อไป
7. สะพานไฟ (Cut Out ) หรือสวิทช์ตัดตอน
สะพานไฟทำด้วยกระเบื้องทนไฟเป็นฉนวนมีไว้ภายในบ้าน เชื่อมหรือเป็นสะพานไฟระหว่างไฟภายในบ้านกับ
หม้อมิเตอร์ไฟฟ้าข้างนอกบ้าน มีฟิวส์ต่อไว้เมื่อเราต้องการตัดกระแสไฟฟ้าไม่ให้เข้าบ้าน เพื่อจะเดินสายไฟหรือซ่อมแซม
ต่อเติมอุปกรณ์ไฟฟ้า เราก็ยกสะพานไฟเสีย เพื่อไม่ให้ไฟฟ้าผ่านก็จะทำงานโดยปลอดภัย ส่วนขนาดต่าง ฯ ของแอมแปร์นั้น
บริษัทผู้ผลิตจะเขียนบอกไว้ที่ตัวคัทเอาท์
สะพานไฟ
8.ฟิวส์ (Fuses)
ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่จำเป็นมากเป็นเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกิดวงจรลัด
(shot circuit ) หรือเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านวงจรมากเกินไป เมื่อผิดปกติหรืออาจเกิดอันตรายฟิวส์ก็จะขาดเสียก่อน คือตัดวงจรไม่ให้กระแสไฟฟ้าเดินได้อีกต่อไป ฟิวส์ที่ใช้มีอยู่หลายแบบหลายขนาดด้วยกัน ซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสมตาม
ประเภทของงาน จุดประสงค์ใหญ่ คือ เมื่อจะเกิดอันตรายคือกระแสไฟมากเกินไป หรือเกิดลัดวงจร ฟิวส์ก็จะขาดทันท
ฟิวส์แบบต่าง ๆ
ชนิดของฟิวส์
1.ฟิวส์เส้นลวด ทำเป็นเส้นลวดกลมยาวมีหลายขนาดแล้วแต่กระแสไฟที่จะใช้ฟิวส์เส้นลวดทำด้วยโลหะต่างๆ เช่น
เงิน, ทองแดง, ตะกั่ว, ดีบุก แต่ที่นิยมมากคือโลหะผสมระหว่างตะกั่วและดีบุก เพราะมีจุดหลอมเหลวต่ำและราคาถูก
2. ฟิวส์กระบอก เป็นฟิวส์ขนาดเล็กอยู่ในหลอดแก้วเล็ก ๆ ฟิวส์ประเภทนี้ส่วนมากใช้ในอุปกรณ์ ไฟฟ้า เช่น วิทย ุ
โทรทัศน์ เครื่องขยายเสียง เป็นต้น
3. ปลั๊กฟิวส์ เป็นฟิวส์แบบปลั๊ก เป็นเกลียวหมุนเข้าออกได้ ภายในบรรจุด้วยเส้นฟิวส์ขนาดเล็กเมื่อฟิวส์ขาดสามารถ
ถอดเปลี่ยนได้ง่ายสะดวก แต่ราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับฟิวส์เส้นลวด
ขนาดของฟิวส์
สายไฟเบอร์ 20 ใช้ฟิวส์ขนาด 3 แอมป์แปร์
สายไฟเบอร์ 18 ใช้ฟิวส์ขนาด 5 แอมป์แปร์
สายไฟเบอร์ 16 ใช้ฟิวส์ขนาด 10 แอมป์แปร์
สายไฟเบอร์ 14 ใช้ฟิวส์ขนาด 15 แอมป์แปร์
สายไฟเบอร์ 12 ใช้ฟิวส์ขนาด 20 แอมป์แปร์
สายไฟเบอร์ 10 ใช้ฟิวส์ขนาด 25 แอมป์แปร์
9.สวิทช์ไฟฟ้า (switch )
สวิทช์ไฟฟ้าทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าผ่าน สวิทช์มีหลายแบบหลายขนาดเลือกชื้อได้ตาม
ความพอใจให้เหมาะกับงานและจำนวนเงิน
สวิทช์ไฟฟ้า
หลักในการต่อสวิทช์ ตามปกติที่สวิทช์จะมีปุ่มหรือขาโผล่มาสำหรับต่อสายไฟอยู่ 2 อัน เราก็นำสายไฟ (เมน) เส้นเดียวมาตัดตรงกลางเป็น 2 ข้าง สายไฟที่เราตัดออกแล้วทั้ง 2 ข้างก็นำมาต่อกับขาสวิทช์ ทั้ง 2 ด้วยสกรูหรือตะปู
ูเกลียวแล้วแต่แบบของสวิทช์
10.ปลั๊กไฟฟ้า (plug)
ปลั๊กไฟฟ้ามีอยู่ 2 พวก คือ ปลั๊กตัวผู้และปลั๊กตัวเมีย
1. ปลั๊กตัวผู้ ปลั๊กตัวผู้มีรูปร่างหลายแบบ แต่ที่เหมือนกันคือ จะมีเดือยเสียบยื่นออกมา 2 ขา สำหรับเสียบที่ปลั๊ก
ตัวเมียเพื่อให้กระแสไฟฟ้าเดินผ่านถึงกันได้ ตัวปลั๊กทำด้วยโลหะที่เป็นฉนวนหรือพลาสติกวิธีต่อสายไฟกับปลั๊กคือ นำสาย
ไฟทั้งคู่ปอกสายออกประมาณเส้นละ 1 นิ้วแล้วนำมาต่อกับเดือยทั้งคู่ยึดตัวสกรูหรือตะปูเกลียว
2. ปลั๊กตัวเมีย ทำด้วยพลาสติกหรือฉนวน มีรูปร่างกลมหรือสี่เหลี่ยมแล้วแต่ผู้ผลิต ๆ ออกมา ส่วนมากตรึงติด
แน่นอยู่กับที่ มี 2 รู สำหรับรองปลั๊กเสียบ (ตัวผู้) เพื่อให้กระแสไฟฟ้าเดินผ่านถึงกันได้ ที่รูเสียบทั้งคู่จะมีโลหะอยู่ภายใน
มีแกนสำหรับต่อสายไฟทั้งคู่ เวลาต่อสายไฟฟ้าก็ต่อกับแกนคู่นี้ยึดด้วยสกรูหรือตะปูเกลียว
ข้อควรระวังเกี่ยวกับปลั๊กไฟฟ้า
1.อย่าจับสายไฟที่ปลั๊กตัวผู้ดึง จะทำให้สายไฟหลุดได้ง่าย
2.เวลาต่อสายไฟต้องต่อให้ดีอย่าให้ปลายทั้ง 2 สัมผัสกันได้เป็นอันขาด
3.ขันน๊อตสกรูหรือตะปูเกลียวให้แน่น ป้องกันสายหลุด





