top of page

การป้องกันอุบัติภัยในการปฏิบัติงานทางไฟฟ้าและระบบการจ่ายไฟฟ้า

1. อันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า

     ผู้ที่ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าเนื่องจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบังเอิญไปสัมผัสส่วนของวงจรที่มีกระแสไฟรั่วในขณะที่ร่างกายอื่นสัมผัสอยู่กับพื้นดินพี่ชื้น กระแสไฟฟ้าจะสามารถไหลผ่านร่างกายลงสู่ดินครบวงจร ดังรูปที่ 1.1 ทำให้เกิดอันตราย แม้เวลาเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ แล้วยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น จุดที่สัมผัส กล่าวคือ ถ้ากระแสไฟฟ้าผ่านร่างกายบริเวณอวัยวะที่สำคัญ เช่น บริเวณหัวใจ ศีรษะ หรือทรวงอก อันตรายที่ได้รับจะมีมากกว่ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านส่วนอื่นของร่างกายและถ้าร่างกายถูกกระแสไฟฟ้าเป็นบริเวณกว้าง อันตรายก็จะสาหัสมากขึ้น

รูปที่1.1

  1.  เกิดจากกระแสไฟฟ้าใช้ร่างกายเป็นทางเดินผ่านลงดิน เนื่องจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าทางด้านแรงดันไฟฟ้าสูงและแรงดันไฟฟ้าต่ำ มีการต่อวงจรส่วนหนึ่งลงดินไว้ ไฟฟ้าจึงพยายามจะไหลลงดินเพื่อให้ครบวงจรกับดิน 

  2. เกิดจากการที่ร่างกายต่อเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าโดยไม่ผ่านลงดิน เช่น บุคคลผู้หนึ่งยืนอยู่บนพื้นที่เป็นฉนวนอย่างดี แล้วใช้มือทั้งสองข้างจะไปสาย 2 ข้างของสายเส้นเดียวกันซึ่งบังเอิญขาดหรือใช้มือจับสายเส้นมีไฟ 2 เส้นพร้อมกันทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านอวัยวะของร่างกายออกไปครบวงจร บุคคลผู้นั้นอาจได้รับอันตรายจนถึงเสียชีวิตได้ กระแสไฟฟ้าทำอันตรายอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์

  3. เกิดจากความร้อนและแสงสว่างที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจเกิดอันตรายแก่ดวงตา เนื่องจากแสงสว่างที่มีความเข้มมากหรือเศษโลหะที่หลอมละลายมีความร้อนสูงกระเด็นเข้าตา ทำให้ตาบอดได้และเกิดบาดแผลไม่แก่ร่างกายส่วนที่เข้าไปใกล้ หรือสัมผัสกับจุดที่กระแสไฟฟ้าลัดวงจร เช่น ซ่อมไฟฟ้าภายในอาคารบ้านโดยไม่ตัดไฟฟ้า ในขณะต่อสาย  2 เส้นที่เตรียมไว้ไปสัมผัสกันไฟฟ้าลัดวงจร แล้วขณะยืนไขสกรูนำสายไฟเข้าหรือออกจากสวิตช์โดยไม่ตัดไฟฟ้า ส่วนไปของไขควงหาภาพไม่สัมผัสสายไฟฟ้าอีกเส้นหนึ่งเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น

2. การป้องกันอุบัติภัยจากกระแสไฟฟ้า

โดยธรรมชาติแล้ว กระแสไฟฟ้าจะไหลไปในทางที่มีความต้านทานน้อยที่สุด ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายมีความต้านทานมากมีกระแสไฟฟ้าผ่านน้อยหรือไม่ไหลผ่านเลย จึงพอจะจำแนกวิธีการป้องกันหลักๆได้ดังนี้

  1. การต่อลงดิน 

เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างภายนอกเป็นโลหะ เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้เมื่อเกิดชำรุด เช่น ฉนวนเสื่อมสภาพหรือมีการแตกหักของฉนวน ทำให้สายไฟฟ้าไปสัมผัสกับโลหะของเครื่องไฟฟ้านั้นๆ กระแสไฟฟ้าก็จะสามารถรั่วไหลมายังโครงนั้นได้

และเมื่อไปสัมผัสในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานอยู่ กระแสไฟฟ้ารั่วจะไหลผ่านตัวผู้สัมผัสลงดินทำให้ได้รับอันตรายได้ 

วิธีการป้องกันอุบัติภัยดังกล่าวคือการต่อสายดินเข้ากับระบบสายดิน เมื่อเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าที่อาจรั่วไหลออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นลงดิน แทนที่จะไหลผ่านตัวผู้สัมผัส ซึ่งวิธีการป้องกันโดยใช้สายดินนี้เป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป 

 

  1. การใช้ฉนวนป้องกันการสัมผัส

ฉนวนหุ้มสายไฟหรือหุ้มสายของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่ชำรุดฉีกขาดได้ จึงใช้วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้ามาห่อหุ้มเพื่อป้องกันการสัมผัสได้ เช่น การใช้เทปพันสายไฟฟ้า ซึ่งมีความเป็นฉนวนสูง ใช้งานง่ายและใช้ได้นาน ราคาถูกมีจำหน่ายทั่วไป รายการใช้ถุงมือยางหรือถุงมือหนังในขณะปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเป็นต้น

  1. การใช้เครื่องตัดไฟรั่ว

การใช้เครื่องตัดไฟรั่วคือการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยภายในบ้านซึ่งวงจรไฟฟ้าปกติทั่วไปทำไม่ได้ หน้าที่ของอุปกรณ์เหล่านี้คือช่วยตรวจสอบการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าโดยจะตัดกระแสไฟฟ้าอย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดในรั่วไหล

          เครื่องตัดไฟรั่ว ครอบคลุมถึงระบบและอุปกรณ์คือ เครื่องตัดไฟรั่วลงดินอัตโนมัติ  circuit Breaker  ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วไหล และชุดควบคุมวงจรไฟฟ้าแบบมีเครื่องตัดไฟรั่วลงดินอัตโนมัติ

          เครื่องตัดไฟรั่ว ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วไหลไฟฟ้าดูดไฟฟ้าลัดวงจร หรือใช้ไฟฟ้าเกินขนาด มีหลักการทำงานเบื้องต้นดังรูปที่ 1.2  คือใช้ตรวจจับความไม่สมดุลระหว่างกระแสไฟฟ้าเข้าและออก

ขอบคุณคลิปวิดีโอจากช่องToppro Channel

©2022 โดย วิชา การติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร ภูมิใจสร้างสรรค์โดย Wix.com

bottom of page