
หน่วยที่ 4
หน่อยที่ 4 การเลือกวัสดุและอุปกรณ์การเดินสายไฟฟ้า
การเลือกวัสดุและอุปกรณ์การเดินสายไฟฟ้า
ความสำคัญของการเลือกวัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้า
การเลือกวัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับงาน หมายถึง การจัดลำดับความสำคัญ การจำแนกวัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับงาน มีความปลอดภัย เชื่อถือได้ ถูกต้องตามกฎระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ราคาเหมาะสม การเลือกวัสดุอุปกรณ์สำหรับ การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านมีความสำคัญมาก เพราะหลังจากเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า เราจะต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ไปอีกนาน หากการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ไม่เหมาะสมแล้ว อายุการใช้งานของวัสดุและอุปกรณ์สั้น อาจเกิดอันตรายขณะใช้งาน ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เสียเวลาการทำงาน ผิดระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
หลักการเลือกใช้สายไฟฟ้า
หลักการพิจารณาเลือกใช้สายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับงานและสภาพสิ่งแวดล้อมที่ใช้งาน มีดังนี้
1. แรงดันไฟฟ้าใช้งาน สายไฟฟ้าที่นำมาใช้งานต้องมีขนาดแรงดันใช้งาน ของสายไฟฟ้าสูงกว่าแรงดันไฟฟ้าที่จะนำมาใช้กับสายไฟฟ้า เช่น แรงดันไฟฟ้าใช้งาน 220 โวลท์ ต้องใช้สายไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันใช้งาน 300 โวลท์หรือมากกว่า เป็นต้น
2. กระแสไฟฟ้าใช้งาน สายไฟฟ้าที่นำมาใช้งานต้องมีขนาดกระแสไฟฟ้าใช้งาน ของสายไฟฟ้าสูงกว่ากระแสไฟฟ้าที่จะนำมาใช้กับสายไฟฟ้า เช่น กระแสไฟฟ้าใช้งาน 10 แอมป์ ต้องใช้สายไฟฟ้าที่มีขนาดกระแสไฟฟ้าใช้งาน 15 แอมป์ เป็นต้น
3. ลักษณะงานที่ใช้ เช่น ใช้เดินเกาะติดกับผนังในบ้านควรใช้สายไฟฟ้าชนิด VAF เดินลอยในอากาศ นอกบ้านต้องใช้สายไฟฟ้าชนิด TW หรือ THW ถ้าเดินสายไฟฟ้าฝังลงดิน ควรใช้สายไฟฟ้าชนิด NYY
4. สายไฟฟ้าต้องได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากกฎระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง
สาย VAF (สาย วีเอเอฟ)
สาย THW (สาย ทีเอชดับบลิว)
สาย NYY (สาย เอ็นวายวาย)
หลักการเลือกใช้สวิทช์และเต้ารับไฟฟ้า
ในวงจรไฟฟ้าจะมีอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของวงจรไฟฟ้าก็คือสวิทช์นั่นเอง
การเลือกใช้สวิทช์ไฟฟ้าให้เหมาะสมและถูกต้องกับงาน มีวิธีพิจารณาดังนี้
สวิทช์และเต้ารับไฟฟ้าทุกตัวต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยดังนี้
มอก. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย
UL เป็นสถาบันที่จัดตั้งโดยคณะกรรมการประกันอัคคีภัยแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบังคับ
เครื่องหมายมาตรฐาน UL (US)
2. ขนาดแรงดันและกระแสไฟฟ้าใช้งาน สามารถกำหนดขนาดสวิทช์และเต้ารับไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้ เช่น สวิทช์และเต้ารับไฟฟ้ามีขนาดกระแสใช้งาน 3 แอมป์ แรงดันไฟฟ้า 250 โวลท์ เวลานำสวิทช์และเต้ารับไฟฟ้าไปใช้งาน ก็ไม่ควรใช้สวิทช์และเต้ารับไฟฟ้ากับค่าแรงดันและกระแสไฟฟ้ามากเกินขนาดกระแสไฟฟ้าใช้งานที่กำหนด
3. ชนิดของสวิทช์และเต้ารับไฟฟ้า ใช้ตามลักษณะการใช้งานและลักษณะการติดตั้ง ได้แก่
- สวิทช์ทางเดียว สำหรับควบคุมไฟฟ้า 1 จุด
- สวิทช์ 3 ทาง ใช้สำหรับควบคุมไฟฟ้า 1 จุด จากจุดควบคุม 2 แห่ง
- จำนวนเต้ารับไฟฟ้ากี่รูเสียบ
- สวิทช์และเต้ารับไฟฟ้า สำหรับติดลอยบนผนัง
- สวิทช์และเต้ารับไฟฟ้า สำหรับฝังในผนัง
4. สภาพแวดล้อมการใช้งาน ได้แก่ ใช้กลางแจ้ง ถูกแดดถูกฝน อยู่ในตัวบ้าน ป้องกันอันตรายจากถูกกระแทกให้แตก ป้องกันเด็กเล่น เป็นต้น
- สวิทช์และเต้ารับไฟฟ้าธรรมดา ไม่ต้องกันน้ำ
- สวิทช์และเต้ารับไฟฟ้าแบบกันน้ำ
5. เต้ารับไฟฟ้า เป็นแบบเมจิกชนิด 2 สาย หรือแบบมีสายดิน 3 สาย


